สำหรับบทความที่สองนั้น เป็นบทความเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระบาทอยู่หัวของเรา ในเรื่องของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหลักในการใช้ชิวิตในยามที่เศรษฐกิจไม่ดี ที่ในหลวงพระราชทานไว้ให้เรา
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระองค์ท่านทรงประทานไว้ ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2540 โดยทรงอธิบายว่า "...ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น ไม่ได้แปลว่า เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ ของการกระทำ..." จากนั้น ได้ทรงขยายความ คำว่า "พอเพียง" เพิ่มเติมต่อไปว่า หมายถึง "พอมีพอกิน" "...พอมีพอกิน ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง ถ้าแต่ละคน มีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกิน ก็ยิ่งดี..."
"...ประเทศไทยสมัยก่อนนี้ พอมีพอกิน มาสมัยนี้อิสระ ไม่มีพอมีพอกิน จึงจะต้องเป็นนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนพอเพียงได้ พอเพียงนี้ ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ..." ทรงเปรียบคำว่า พอเพียง กับคำภาษาอังกฤษว่า "Self-Suficiency" ว่า "...Self-Sufficiency นั้น หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง...เป็นไปตามที่เค้าเรียกว่า ยืนบนขาของตัวเอง...
...พอเพียงนี้ มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่า พอ ก็พอเพียงนี้ ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอใจในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดผู้อื่นน้อย...
ถ้าประเทศใด มีความคิดอันนี้ มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข
"....พอเพียงนี้ อาจจะมี มีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดคนอื่น ต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติงานก็พอเพียง..."
"...ฉะนั้น ความพอเพียงนี้ ก็แปลว่า ความพอประมาณ และความมีเหตุผล..."
ซึ่งเราสามารถสรุปปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ดังนี้
1. ยึดหลักประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีวิตอย่างจริง ดังพระราชดำรัสว่า "...ความเป็นอยู่ ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยุดไปในทางที่ถูกต้อง..."
2. ยึดหลักการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลน ในการดำรงชีพก็ตาม ดังพระราชดำรัสที่ว่า "...ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจาก การประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพ ของตนเป็นหลักสำคัญ..."
3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกัน ในทางการค้าขาย ประกอบอาชีพ แบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังในอดีต ซึ่งมีพระราชดำรัสว่า "...ความสุข ความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่ง เบียดบังมาจากผู้อื่น..."
4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวาย ใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูน จนถึงขั้นพอเพียง เป็นเป้าหมายสำคัญ ดังพระราชดำรัสว่า "...การที่ต้องการให้ทุกคนพยายาม ที่จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่า ยืนได้ด้วยตัวเอง..."
5. ลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ดังพระบรมราโชวาทว่า "...พยายามไม่ก่อความชั่ว ให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้นให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น..."
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น