ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กาแฟลดน้ำหนักจริงหรือ

สังคมปัจจุบันมีค่านิยมอย่างสูงต่อ "การผอมแบบเพรียวลม" ที่นิยมกันมากในกลุ่มดาราและนางแบบ ก่อนที่จะแพร่หลายสู่กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน โดยพยายามทุกวิถีทางเพื่อเป็นคนที่ทันสมัยไม่ตกยุค ด้วยการรักษาเรือนร่างให้ผอมเพรียวลมเพื่อการแข่งขันกันตามกระแสสังคม ด้วยวิธีใดก็ได้ขอให้ผอมเพรียวลมเป็นเป้าหมายสูงสุด การโฆษณากาแฟลดน้ำหนักกันอย่างครึกโครม ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าการดื่มกาแฟแล้วจะทำให้รูปร่างผอมเพรียวลม แต่ผู้บริโภคทราบหรือไม่ว่า อันที่จริงแล้วการดื่มกาแฟลดน้ำหนักก็มีข้อเสียเหมือนกัน
การโฆษณากาแฟลดน้ำหนัก ส่วนใหญ่จะโฆษณาด้วยการขายตรงแบบปากต่อปาก หรือการโฆษณาแอบแฟงตามสื่อมวลชนที่ไม่ได้พูดตรงๆ แต่ใช้กิจกรรมหรือท่าทางการสื่อสารให้เข้าใจว่ากาแฟนั้นช่วยลดน้ำหนักได้ด้วยสรรพคุณที่อ้างว่าสามารถลดน้ำหนักได้ จึงเป็นที่นิยมของหนุ่มสาวและวัยทำงาน ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์กาแฟเป็นจำนวนมากมักอ้างว่าได้เพิ่มเติมสารอาหารบางอย่างที่ช่วยลดน้ำหนัก เช่น ไฟเบอร์(ช่วยเพิ่มกากอาหารในอุจจาระ) คอลลาเจน(พบได้ในเนื้อสัตว์ และจะถูกย่อยเป็นโปรตีนขนาดเล็กก่อนถูกดูดซึมเหมือนโปรตีนทั่วไป) รวมทั้งแอล-คาร์นิทีนและโครเมียม เป็นต้น
ทั้งนี้ ทางการแพทย์มีการยืนยันว่าสรรพคุณต่างๆ ของสารอาหารที่ผู้ผลิตได้เติมลงไปในกาแฟและอ้างนั้นไม่ได้เป็นความจริงทั้งหมด ถึงแม้ว่ากาแฟจะมีส่วนช่วยในการเผาผลาญของร่างกาย แต่หากดื่มในปริมาณมากโดยหวังว่าจะให้ร่างกายผอมเพรียวลม และหุ่นดีนั้นอาจเกิดอันตรายกับร่างกายได้ เพราะคาเฟอีนจะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานมากจนเกินไปอาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ นอกจากนี้อาจทำให้อ้วนขึ้นได้เช่นกัน เพราะในผลิตภัณฑ์กาแฟนั้นจะมีครีมเทียมและน้ำตาลผสมอยู่จึงทำให้ได้รับพลังงานหลายกิโลแคลอรี่แล้วจะผอมได้อย่างไร
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ขอเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อโฆษณาในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กาแฟต้องอ่านฉลากให้ถี่ถ้วน ทั้งนี้ ขอแนะนำให้ผู้บริโภคควบคุมน้ำหนักโดยการหมั่นออกกำลังกาย กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจให้แจ่มใส หากพบเห็นการโฆษณาสินค้าหรือบริการที่หลอกลวงหรือโอ้อวดเกินจริง สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน สคบ.1166 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นการรักษาสิทธิและป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อโฆษณาเกินจริงได้ที่ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา โทรศัพท์ 02-1430397-99
ที่มา สคบ.สาร ปีที่ 32 ฉบับที่ 290 มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 www.ocpb.go.th

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อันตรายของความผอม!

บางคนซีเรียสกับน้ำหนักตัวจนเกินไป ถึงกับต้องล้วงคอเพื่อให้อาเจียนเอาอาหารที่เพิ่งทานเข้าไปออกมา หรือที่เรียกว่า โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา   ขณะที่บางรายถึงกับจำกัดอาหาร ลดปริมาณให้น้อยที่สุด ลดจำนวนมื้อ เลือกกินอาหารเพียงบางหมวดหมู่ เพราะไม่ต้องการให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากทุกครั้งที่ส่องกระจกจะรู้สึกว่า ตัวเองอ้วนเกินไป ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้ว คนๆนั้นมีรูปร่างที่พอดีหรือผอมไปด้วยซ้ำ อย่างนี้เข้าข่าย โรคอะนอร์เร็กเซีย เนอร์โวซา ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชนั่นเอง การลดน้ำหนักจำเป็นสำหรับคนที่ เป็นโรคอ้วนเพื่อลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพ แต่ถ้าน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมก็ไม่จำเป็นต้องลดน้ำหนัก เพราะการที่ร่างกายผอมเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกาย 10 ระบบด้วยกัน ประกอบด้วย ‘ ระบบประสาทและสมอง ’   ความกังวลเรื่องน้ำหนัก ยังทำให้เป็นโรคซึมเศร้า หงุดหงิดและฉุนเฉียวง่าย ร่างกายอ่อนแอ จนเป็นลด หน้ามืด ‘ เส้นผม ’   คนผอมแล้วยังพยายามลดหุ่น เส้นผมจะเปราะขาดง่ายและไม่แข็งแรง เพราะขาดวิตามินและโปรตีน   ‘ ระบบหัวใจ ’   หัวใจเต้นช้าหรือเร็วผิดปกติ เสี่ยงหัวใจวาย และความดันโลหิตต่ำ ‘...

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สำหรับบทความที่สองนั้น เป็นบทความเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระบาทอยู่หัวของเรา   ในเรื่องของ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหลักในการใช้ชิวิตในยามที่เศรษฐกิจไม่ดี ที่ในหลวงพระราชทานไว้ให้เรา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระองค์ท่านทรงประทานไว้   ณ วันที่   4  ธันวาคม   2540  โดยทรงอธิบายว่า   "... ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น   ไม่ได้แปลว่า เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่   แต่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ ของการกระทำ..."   จากนั้น   ได้ทรงขยายความ   คำว่า   " พอเพียง" เพิ่มเติมต่อไปว่า   หมายถึง   " พอมีพอกิน"    "... พอมีพอกิน   ก็แปลว่า   เศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง    ถ้าแต่ละคน มีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้   ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกิน ก็ยิ่งดี..."       "... ประเทศไทยสมัยก่อนนี้ พอมีพอกิน มาสมัยนี้อิสระ ไม่มีพอมีพอกิน จึงจะต้องเป็นนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนพอเพียงได้ พอเพียงนี้ ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ห...